การปรับและตั้งค่าโปรแกรม
สำหรับโรคมะเร็ง
การเติมยาตามนัดหมาย
การมาเติมยาตามนัดหมายเป็นประจำจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยไม่ได้มาเติมยา จะเกิดผลเสียดังนี้
- การรับยาต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด (รับยาน้อยเกินไป) อาจทำให้อาการปวดกลับมาหรืออาจจะเกิดอาการขาดยา
- เมื่อยาหมดอาจทำให้เครื่องปั๊มจ่ายยาเสียหายและอาจต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ได้
ปรึกษาแพทย์
ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ทราบ เมื่อรู้สึกปวดไม่สบาย มีปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาหรืออาการปวดไม่ทุเลาลงเท่าที่ควรจะเป็น
การปรับปริมาณยา
แพทย์จะทำการปรับการตั้งค่าจ่ายยาเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละรายได้ โดยสามารถปรับการจ่ายยาได้ในแต่ละช่วงเวลาของวัน หรือกำหนดค่าในช่วงกลางคืนหรือสัปดาห์นั้น ๆ ได้
การไปพบแพทย์เป็นประจำ
คุณจำเป็นต้องมาพบแพทย์เป็นระยะเพื่อตรวจร่างกายและเติมยาให้กับตัวปั๊มจ่ายยาของคุณ
เสียงเตือนของอุปกรณ์และข้อควรระวัง
หากปั๊มของคุณมีระบบเสียงเตือน คุณต้องเข้าใจเสียงของตัวปั๊มจ่ายยาว่ามีลักษณะอย่างไรและกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
การทำความเข้าใจเสียงเตือน
ผู้ป่วยควรสังเกตุฟังเสียงเตือนจากปั๊มจ่ายยา ซึ่งเสียงดังกล่าวอาจแจ้งเตือนถึงกำหนดการเติมยา หรือกำหนดการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ หรือปัญหาอื่นๆ ดังนั้นควรแจ้งแพทย์ทราบโดยเร็ว เมื่อได้ยินเสียงแจ้งเตือนจากอุปกรณ์
สามารถฟังเสียงตัวอย่างสัญญาณเตือนได้ โดยขอให้แพทย์เปิดสัญญาณเสียงเตือนจากปั๊มให้คุณฟัง เพื่อให้สามารถจดจำเสียงดังกล่าวได้
กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของชุดอุปกรณ์ปั๊ม ได้แก่ การบิดงอตัวแรงๆ กระโดด หรือยืดตัวอย่างฉับพลัน ซึ่งการใช้แรงมากๆ หรือทำซ้ำๆ อาจทำให้ปั๊มหรือท่อนำยาเสียหายหรือหลุดจากจุดเชื่อมต่อได้
ควรแจ้งแพทย์ทราบว่า ผู้ป่วยได้รับการฝังระบบปั๊มจ่ายยาก่อนทำการตรวจวินิจฉัยโรคทุกประเภท
ฝังอุปกรณ์แล้วก็สามารถเดินทางได้
เรามีข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง
การสแกน MRI ทั้งร่างกาย
ปั๊มจ่ายยาเพื่อระงับอาการปวดบางรุ่น ได้รับการออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยภายใต้เงื่อนไขบางประการสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องสแกน MRI