ภาพรวมของการรักษา

การฝังเครื่องให้ยาระงับปวดผ่านช่องไขสันหลัง
สำหรับโรคมะเร็ง

ปั๊มให้ยาระงับปวด (Intrathecal Morphine Pump)

เป็นการรักษาโดยการปล่อยยาเข้าไปยังช่องน้ำไขสันหลังโดยตรงด้วยปั๊มที่สามารถตั้งโปรแกรมได้  ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถบรรเทาอาการปวดเรื้อรังรวมถึงอาการปวดจากโรคมะเร็ง  ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงน้อยและปริมาณยาที่ใช้รักษาน้อยกว่าการใช้ยาแบบรับประทาน 

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษา

  • บรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น
  • ลดปริมาณยาแก้ปวดที่ใช้รับประทานลงได้ หรืออาจไม่ต้องใช้ยารับประทานร่วมด้วย
  • มีผลข้างเคียงจากยาน้อยลงหากเทียบกับการรับประทานยา
  • ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจในการรักษา

ประโยชน์เมื่อเทียบกับการรักษาแบบอื่น

  • วิธีนี้เป็นการนำยาในปริมาณน้อยเข้าสู่เซลล์เป้าหมายที่อยู่รอบไขสันหลังโดยตรง จึงสามารถควบคุมอาการปวดด้วยปริมาณยาที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการรับประทานยา
  • ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากยาที่น้อยกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ยารับประทาน เช่น อาการท้องผูกและวิงเวียนศีรษะ
  • การนำส่งยาผ่านช่องไขสันหลังเป็นทางเลือกในการรักษา หากการบรรเทาอาการปวดด้วยการรักษาอื่นๆใช้ไม่ได้ผล เช่น การใช้ยารับประทานหรือการฉีดยา  
  • มีการทดสอบการรักษาก่อนเพื่อประเมินผลก่อนตัดสินใจรักษาในระยะยาว

ขั้นตอนการรักษา

มี 3 ขั้นตอน

1. ทดสอบการรักษาก่อนผ่าตัด

เป็นการทดสอบเพื่อให้คุณได้ทดลองรับยาด้วยการฉีดยาผ่านช่องไขสันหลังก่อนตัดสินใจฝังอุปกรณ์เพื่อรับการรักษาจริง

ศึกษาเพิ่มเติม

2. การผ่าตัดฝังอุปกรณ์

ปั๊มจ่ายยาอัตโนมัติจะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องในระหว่างที่ทำการผ่าตัด

ศึกษาเพิ่มเติม

3. การเติมยาระงับปวด

แพทย์จะทำนัดหมายการเติมยาเมื่อถึงกำหนด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการติดเชื้อ น้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังรั่วและปวดศีรษะ 
  • การได้รับยาเกินขนาด หรือต่ำกว่าขนาดที่ต้องการ อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการไม่พึงประสงค์ได้ได้
  • ปั๊มอาจหยุดทำงานเนื่องจากแบตเตอรี่หมด

โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ข้อมูลความปลอดภัยที่สำคัญ และปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงและประโยชน์ต่างๆ ที่คุณจะได้รับจากการรักษารูปแบบนี้

ขั้นตอนการทดสอบการรักษามี 2 วิธี

ขั้นตอนทั่วไปของแต่ละวิธีรักษาอาจแตกต่างกันไปซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

ศึกษาเพิ่มเติม

*ไม่ควรใช้ข้อมูลนี้ทดแทนการปรึกษาแพทย์ ดังนั้น โปรดติดต่อปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลการวินิจฉัยและการรักษาโรคทุกครั้ง