การใช้ชีวิตร่วมกับการรักษา

การฝังเครื่องให้ยาลดเกร็งทางไขสันหลัง (ITB)
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง

สิ่งที่ต้องปฏิบัติ

มาตามนัดเติมยาเสมอ

คุณและผู้ดูแลมีหน้าที่รับผิดชอบสำคัญตลอดการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB)  ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถทำการรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยสำหรับคุณ

คุณต้องไปตามนัดเติมยาทุกครั้งและเช็คตัวปั๊มจ่ายยาเป็นประจำ หลีกเลี่ยงไม่ให้ยาบาโคลเฟนหมดและการเกิดเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเติมยาเข้าปั๊มจ่ายยา

รู้ทันสัญญาณเตือน

คุณและผู้ใกล้ชิดจะต้องรู้อาการเบื้องต้นเมื่อขาดยาบาโคลเฟนและรับยาเกินขนาด รวมถึงสิ่งที่จะต้องทำเมื่อพบอาการดังกล่าว เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สัญญาณเตือน

พกบัตรข้อมูลทางการแพทย์ฉุกเฉิน

คุณจะต้องพกบัตรข้อมูลทางการแพทย์ฉุกเฉินติดตัวเสมอ บนบัตรประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของการขาดยาและรับยาเกินขนาด รวมถึงข้อมูลติดต่อทางการแพทย์

ในกรณีฉุกเฉิน บัตรประจำตัวผู้ป่วยจะระบุว่า คุณได้รับการฝังอุปกรณ์มา

พกยาบาโคลเฟนชนิดรับประทานติดตัว

พกยาบาโคลเฟนชนิดรับประทานที่ยังไม่หมดอายุติดตัวไปด้วยเสมอ เมื่อสังเกตเห็นถึงสัญญาณของอาการขาดยา ให้คุณติดต่อรับคำแนะนำจากแพทย์ในการรับประทานยาและไปพบแพทย์

รู้เสียงเตือนของปั๊มจ่ายยา

เสียงเตือนจะดังขึ้นเมื่อปั๊มจ่ายยามีปัญหา ต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หรือต้องเติมยาบาโคลเฟนเพิ่ม คุณจะต้องรู้เสียงเตือนจากปั๊มทั้งสองแบบและสิ่งที่ต้องทำเมื่อได้ยินสัญญาณเตือน

อย่านวดถูตัวปั๊มจ่ายยา

อย่าจับต้องหรือถูปั๊มจ่ายยาหรือท่อนำยาผ่านทางผิวหนัง เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง หรือทำให้ปั๊มจ่ายยากลับด้านจนไม่สามารถเติมยาเข้าไปได้ นอกจากนี้ท่อนำยาอาจขดหรือไม่เชื่อมต่อกับตัวปั๊มยาที่สามารถก่อความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อและหยุดระบบการไหลเวียนของยา ซึ่งอาจเกิดอาการขาดยาที่เป็นอันตรายได้

ควรติดต่อแพทย์ในกรณีต่อไปนี้:

  • รู้สึกถึงสัญญาณต่าง ๆ ของปริมาณยาบาโคลเฟนที่มากเกินไป น้อยเกินไปหรือไม่ได้รับยาเลย
  • ได้ยินเสียงแจ้งเตือนของปั๊มจ่ายยา
  • เมื่อต้องไปรับการรักษาทางเวชกรรมหรือทันตกรรม รวมถึงการสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI)
  • เมื่อต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  • อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งกลับมา
  • รู้สึกไม่สบายหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษา

ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

เมื่อคุณรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB) แน่นอนว่าการทำกิจกรรมบางอย่างอาจทำให้ระบบปั๊มเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อคุณ ดังนั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เสมอว่าควรหลีกเลี่ยงสิ่งใด ด้านล่างนี้คือคำแนะนำเบื้องต้น

การงอตัว การบิดตัว การกระโดด การยืดตัว

หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมากเกินไปและซ้ำๆ เช่น การงอตัว การบิดตัว การกระโดด และการยืดตัว เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบปั๊มจ่ายยา อีกทั้งยังทำให้ท่อนำยาหลุด โค้งงอ หรืออุดตัน ทำให้การจ่ายยาหยุดชะงัก และขาดยาบาโคลเฟนอย่างรุนแรง

การใช้ยาอื่นๆ และแอลกอฮอล์

เนื่องจากยาบาโคลเฟน อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการง่วงซึมได้ ดังนั้นการดื่มแอลกอฮอล์หรือยากดประสาทอื่น ๆร่วมด้วยจึงต้องระวังเป็นพิเศษ คุณควรระมัดระวังเวลาขับรถ การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรที่อันตราย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจเป็นอันตราย หากคุณรู้สึกตื่นตัวไม่มากพอ

อ่างน้ำร้อน ห้องอบไอน้ำ ห้องซาวน่า เตียงอาบแดด

คุณไม่ควรใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์ (39 องศาเซลเซียส) อัตราการไหลเวียนของปั๊มจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิในร่างกายของคุณสูงขึ้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกตินั้นสามารถทำให้ตัวปั๊มจ่ายยามากกว่าปกติได้ (การรับยาเกินขนาด) ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

การดำน้ำลึก

อย่าดำน้ำลึกเกินกว่า 33 ฟุต (10 เมตร) การดำน้ำลึกอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับปั๊มจ่ายยาที่อาจจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์เรื่องความดันสูง การไหลเวียนของปั๊มจะลดลงเมื่อความดันเพิ่มขึ้น ความดันที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้

อุปกรณ์ตรวจสอบความปลอดภัยและเครื่องตรวจจับโลหะ

อุปกรณ์ตรวจสอบความปลอดภัยและเครื่องตรวจจับโลหะจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับปั๊มจ่ายยา แต่โลหะในปั๊มอาจทำให้เครื่องส่งสัญญาณเตือนได้   สามารถลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวได้โดยการไม่ไปอยู่บริเวณนั้นหรือพิงอุปกรณ์ตรวจความปลอดภัยในร้านค้าหรือสนามบิน หากสัญญาณเตือนดังขึ้น ให้แสดงบัตรประจำตัวผู้ป่วยให้กับเจ้าหน้าที่

ข้อควรระวังสำหรับการทำหัตถกรรมทางการแพทย์

คุณควรติดต่อแพทย์ทุกครั้งก่อนทำการทดสอบทางการแพทย์ หัตถกรรมทางการแพทย์ และรับการรักษาทางทันตกรรม ซึ่งจะมีข้อควรระวังและขั้นตอนพิเศษ โดยมีขั้นตอนเบื้องต้นและคำแนะนำเฉพาะทางดังต่อไปนี้

การเข้าตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI)

ก่อนเข้าตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) คุณต้องติดต่อแพทย์ของคุณเพื่อขอแนะนำพิเศษ หากคุณพบแพทย์หรือนักรังสีการแพทย์ที่ไม่เข้าใจความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องระบบการรักษาของคุณ ให้แสดงบัตรประจำตัวผู้ป่วยให้พวกเขาดู

ตามเงื่อนไขของอุปกรณ์เอ็มอาร์ไอ (MRI) สามารถสแกนปั๊มจ่ายยาได้ แต่คุณจะต้องแจ้งแพทย์เสมอว่าคุณได้รับการฝังระบบจ่ายยาทางเลือดมาก่อนทำการหัตถกรรมหรือการวินิจฉัยใดๆ อย่างเช่น การสแกน MRI หรือเครื่องมือที่ใช้ตรวจด้วยความร้อนและความถี่

ถามแพทย์เพื่อให้กำหนดว่า การสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI) สามารถทำได้กับตัวปั๊มจ่ายยาได้หรือไม่ ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจทำให้อุปกรณ์หยุดทำงานชั่วคราวระหว่างการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) และควรจะทำงานต่อหลังจากที่ทำการตรวจเสร็จสิ้นแล้ว นอกจากนี้ อุปกรณ์อาจส่งเสียงเตือนระหว่างการสแกนและหยุดดังหลังจากสแกนแล้ว หลังจากตรวจเสร็จแล้ว แพทย์จะทำการเช็คปั๊มจ่ายยาว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่

การวินิจฉัยด้วยการตรวจอัลตราซาวด์

คลื่นรบกวนจากแม่เหล็กจากการตรวจอัลตราซาวด์ (เช่น การตรวจหลอดเลือดแดงหรือการใช้คลื่นเสียงตรวจการไหลเวียนของหลอดเลือดดำ) อาจไม่ส่งผลใดๆ ต่ออุปกรณ์จ่ายยา เพื่อลดความผิดเพี้ยนของภาพที่อาจเกิดขึ้น ให้ทรานสดิวเซอร์อยู่ห่างจากปั๊มจ่ายยา 6 นิ้ว

การบำบัดด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง

ก่อนทำการรักษาด้วยไฮเปอร์แบริค (HBO) คุณต้องพูดคุยถึงผลกระทบกับแพทย์เสียก่อน ซึ่งการรักษาชนิดนี้ใช้ในการรักษาบาดแผลที่ไม่สมานเองและเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายด้วยรังสี อย่ารักษาด้วยความกดอากาศที่มีความดันมากกว่า 2.0 ขึ้นไป เมื่อความดันเพิ่มขึ้น การไหลเวียนของปั๊มจ่ายยาก็ลดลง ความดันที่สูงขึ้นจะทำให้การรักษาสูญเปล่าหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้อาการต่างๆ ที่คุณเป็นกลับมาอีกครั้ง รวมถึงอาการขาดยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกหรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดกับปั๊มเมื่อจำเป็นต้องมีการรักษาแบบไฮเปอร์แบริค แพทย์จะต้องทำการเติมยาให้เต็มความจุและรักษาปริมาณของยาไว้ก่อนการรักษา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำหัตถกรรมร่วมกับปั๊มจ่ายยา โปรดดูคู่มือผู้ป่วยของคุณ

การวางแผนการเดินทาง
ก่อนเดินทางไกล

  • อย่างแรกคุณต้องเช็คว่า ไม่มีนัดหมายเติมยาบาโคลเฟนในช่วงที่คุณกำลังเดินทาง แต่ถ้าหากมีนัดหมายเติมยาระหว่างนั้น คุณจะต้องเติมยาเสียก่อน
  • หาข้อมูลติดต่อแพทย์ที่ดูแลการรักษาด้วยปั๊มจ่ายยาบาโคลเฟน ณ จุดหมายปลายทางที่คุณกำลังจะไป
  • แจ้งแพทย์ของคุณเกี่ยวกับแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้า โปรดจำไว้ว่า อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าที่คุณจะต้องประสานขอเติมยาจากแพทย์นอกสถานที่ การปรึกษาแพทย์และความพร้อมในการจ่ายยาจำเป็นต้องได้รับการประสานด้วยเช่นกัน
  • พกบัตรประจำตัวผู้ป่วยติดตัวไว้ตลอดเวลา ซึ่งบัตรใบนี้จะช่วยให้คุณผ่านจุดตรวจความปลอดภัยและตอบคำถามเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังเป็นบัตรที่สามารถใช้ในยามฉุกเฉิน หากมีอะไรเกิดขึ้นในระหว่างที่คุณกำลังเดินทาง
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อคุณต้องบินหรือกำลังเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความสูง แพทย์จะพิจารณาว่าจะลดอัตราการไหลลงของยาแบบชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาดที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่

การเดินทางด้วยเครื่องบิน

ทางสนามบินและสายการบินต่าง ๆ มีการให้บริการความช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย

  • เมื่อคุณจองเที่ยวบินแล้ว ให้ติดต่อกับการให้บริการช่วยเหลือพิเศษของสายการบินเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบว่า คุณต้องการอะไร ในกรณีที่คุณยังสามารถเดินได้อยู่ ให้ขอที่นั่งแถวหน้าของเครื่องบิน แต่ถ้าหากคุณไม่ได้ที่นั่งติดริมทางเดินของเครื่อง ให้ขอที่นั่งหลังกำแพง เจ้าหน้าที่สามารถจัดรถเข็นเพื่อเข้าหรือออกจากประตูทางออกขึ้นเครื่องให้กับคุณได้ โดยส่วนใหญ่คุณสามารถใช้รถเข็นของตัวเองได้ และเมื่อไปถึงประตูทางออกขึ้นเครื่อง คุณจะถูกย้ายไปยังที่นั่งริมทางเดินของเครื่องบิน
  • โปรดเก็บใบสั่งยาไว้ในกระเป๋าพกพาไว้เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ยาหายไปกับกระเป๋าเดินทาง

สัญญาณเตือนของการใช้ยาเกินขนาดและขาดยา

ติดต่อแพทย์ทันที เมื่อคุณพบสัญญาณเหล่านี้

การปรับและตั้งค่าโปรแกรม

คุณจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาและระยะเวลาเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษา