ภาพรวมของการรักษา

การฝังเครื่องให้ยาลดเกร็งทางไขสันหลัง (ITB)
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง

กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรงคืออะไร

กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรงคือภาวะที่กล้ามเนื้อเกร็งและหดตัวจนทำให้ยากต่อการควบคุมแขน ขา หรือร่างกาย อาการเกร็งอาจทำให้เกิดอาการกระตุก ปวด และพิการได้  ภาวะนี้จะถือว่ารุนแรงก็ต่อเมื่อเกิดผล

กระทบต่อกิจวัตรประจำวัน รูปแบบการนอน และการดูแลสุขภาพ

อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในสมองหรือไขสันหลังที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้รับบาดเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสมองพิการ สมองบาดเจ็บ โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และการบาดเจ็บของไขสันหลัง

ทำไมการรักษาถึงสำคัญ

การรักษาที่ถูกต้องอาจช่วยให้การทำงาน การไปโรงเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ และการดูแลสุขภาพง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้คุณรู้สึกสบาย และควบคุมการทำกิจวัตรประจำวันได้ดียิ่งขึ้น

การรักษาด้วยยา

โดยทั่วไปยาคลายกล้ามเนื้อที่ใช้เพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งมีชื่อว่า บาโคลเฟน   ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักตอบสนองได้ดีเมื่อรับประทานยาบาโคลเฟน   แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น มีอาการอ่อนแรง ง่วงซึม หรือคลื่นไส้

เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาบาโคลเฟนแบบเม็ด ยาจะถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปสู่น้ำไขสันหลังต่อไป ทำให้มียาในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นที่สามารถเข้าไปถึงบริเวณน้ำไขสันหลังได้ ทำให้ในผู้ป่วยบางรายได้ผลการรักษาที่ไม่เพียงพอ หรือต้องเพิ่มขนาดยาเพื่อให้ได้ผลการรักษา แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงในการได้รับผลข้างเคียงจากยาได้ อย่างไรก็ตาม ตัวปั๊มจ่ายยาจะส่งนำส่งยาบาโคลเฟนไปที่น้ำไขสันหลังโดยตรง ทำให้สามารถใช้ยาได้ในปริมาณที่น้อยลง ความเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาก็จะน้อยลงเมื่อเทียบการรับประทานยา 

เมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล

ผู้ป่วยหลายคนอาจรักษาอาการปวดด้วยการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด หรือยาฉีด แต่อาจพบว่า การรักษาต่างๆ อาจไม่ได้ผลมากพอหรือมีผลข้างเคียงจากยาที่ไม่สามารถทนได้  ซึ่งสามารถพิจารณาการใช้ปั๊มจ่ายยาบาโคลเฟน เมื่อมีอาการต่อไปนี้:

  • อาการไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร หลังจากได้รับการรักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น ง่วงซึมตลอดเวลา งุนงง อ่อนแรง และคลื่นไส้
  • มีประวัติกล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรงจากภาวะบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป

ทำไมถึงต้องใช้การฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (Intrathecal Baclofen: ITB) เพื่อลดอาการเกร็ง

เมื่อการรับประทานยาหรือการฉีดยาไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอย่างรุนแรงได้ คุณสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวเลือกในการรักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา เกี่ยวกับการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเนทางไขสันหลัง (ITB) เพื่อลดอาการเกร็ง

ขั้นตอนการรักษา

มี 3 ขั้นตอน

1. ทดสอบการรักษาก่อนผ่าตัด

เป็นการทดสอบเพื่อให้คุณได้ทดลองรับยาด้วยการฉีดยาผ่านช่องไขสันหลังก่อนตัดสินใจฝังอุปกรณ์เพื่อรับการรักษาจริง

ศึกษาเพิ่มเติม

2. การผ่าตัดฝังอุปกรณ์

ปั๊มจ่ายยาอัตโนมัติจะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องในระหว่างที่ทำการผ่าตัด

ศึกษาเพิ่มเติม

3. การเติมยาลดอาการเกร็ง

แพทย์จะทำนัดหมายการเติมยาเมื่อถึงกำหนด