การฝังเครื่องให้ยาลดเกร็งทางช่องไขสันหลัง

สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง

ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นความผิดปกติของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการหดเกร็ง แข็งตัว และทำให้เคลื่อนไหวยากจนส่งผลเสียต่อการทำกิจกรรมวัตรประจำวันต่างๆ การรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาลดอาการเกร็ง (ยาบาโคลเฟน) และเป็นที่รู้จักในชื่อของ “ปั๊มให้ยาลดเกร็ง หรือ Baclofen Pump หรือ Intrathecal Baclofen (ITB Pump)” เป็นหนึ่งในการรักษาที่อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น

ประโยชน์ที่จะได้รับ

ประโยชน์ของการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB) 

เพื่อลดอาการเกร็ง

ใช้ยาในปริมาณน้อยลงเมื่อเทียบกับการทานยา

เพื่อให้ได้ผลการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาบาโคลเฟนในปริมาณมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น ง่วงซึม มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนแรง หรือคลื่นไส้ 

ปั๊มจ่ายยาบาโคลเฟนจะส่งยาบาโคลเฟนไปยังน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยใช้ยาในปริมาณที่น้อยลง ดังนั้นจึงสามารถช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยาบาโคลเฟนได้

ทดสอบก่อนตัดสินใจได้

การทดสอบเพื่อคัดกรองผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยและแพทย์ทราบว่า  ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการผ่าตัดใส่อุปกรณ์

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวประกอบด้วย:

  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้/อาเจียน
  • ง่วงซึม
  • ปวดศีรษะ
  • เวียนศีรษะ

สามารถตั้งโปรแกรมได้ตามความต้องการ

ปั๊มจ่ายยาของคุณจะถูกตั้งโปรแกรมเพื่อจ่ายยาในปริมาณที่แม่นยำในแต่ละช่วงเวลาต่างๆ ของวันตามที่คุณต้องการ และคุณยังสามารถปรับการจ่ายยาในปริมาณที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของวันได้อีกด้วย เช่นคุณอาจต้องการปริมาณยาที่มากขึ้นตอนกลางคืนเพื่อลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเพื่อให้หลับได้ดีขึ้น และปริมาณยาจะลดลงในตอนเช้าเมื่ออาการดังกล่าวดีขึ้นแล้ว แพทย์ของคุณสามารถตั้งเวลาสำหรับการจ่ายยาให้กับคุณได้ตามต้องการ โดยสามารถตั้งโปรแกรมแตกต่างกันในแต่ละวันได้เพื่อให้เข้ากับกิจวัตรประจำวันของคุณ เช่น คุณอาจต้องการยาน้อยลงหรือมากขึ้นในวันที่นัดทำกายภาพบำบัด

ได้รับการพิสูจน์แล้ว

การฝังเครื่องปั้มจ่ายยาบาโคลเฟน เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ว่าเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเกินขนาด:

  • ง่วงซึม
  • ชัก
  • หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
  • หายใจลำบาก
  • หมดสติหรือมีภาวะโคม่า
  • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากเกินไป

อาการของการขาดยา:

  • เกิดอาการคัน
  • หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
  • ความดันในเลือดต่ำ
  • รู้สึกชา ยิบๆ ซ่าๆ เหมือนโดนเข็มทิ่ม
  • กล้ามเนื้อหดเกร็งมากขึ้นหรือกลับมาเป็นอีก

การได้รับยาบาโคลเฟนมากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นคุณควรติดต่อแพทย์ในทันทีเมื่อสังเกตุพบอาการดังกล่าว

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

  • สายนำยาหรือปั๊มอาจเลื่อนออกจากตำแหน่ง
  • ปั๊มอาจหยุดทำงานเนื่องจากแบตเตอรี่หมด
  • สายนำยาอาจรั่ว ฉีก หรืองอได้  ซึ่งอาจจะส่งผลถึงปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับ
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ และรวมถึงการติดเชื้อ น้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังรั่วและปวดศีรษะ

ข้อมูลความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB) เพื่อลดอาการเกร็ง

เมื่อรับการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB) เพื่อลดอาการเกร็งแล้ว คุณจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด การหยุดใช้ยาบาโคลเฟนอย่างกระทันหันอาจส่งผลให้เกิดอาการขาดยาที่รุนแรงได้ เช่น ไข้ขึ้นสูง สภาพจิตเปลี่ยนแปลงไป กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง และในบางกรณี การขาดยาอาจนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของอวัยวะสำคัญและอันตรายจนเสียชีวิตในที่สุด

ควรติดต่อแพทย์ทันทีหากพบอาการเหล่านี้ และไปตามนัดของแพทย์เพื่อเติมยาเป็นประจำเพื่อไม่ให้เกิดการขาดยาบาโคลเฟน 

การทดสอบการรักษา
ด้วย ITB

จากการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นไปถึงขั้นตอนการฝังอุปกรณ์ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB)

การใช้ชีวิตร่วมกับการรักษา

คนไข้มีส่วนร่วมสำคัญในการรักษาด้วยการฝังปั๊มให้ยาบาโคลเฟนทางไขสันหลัง (ITB) เพื่อลดอาการเกร็ง เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด