การฝังอุปกรณ์

ปั้มให้ยาลดเกร็งทางไขสันหลัง (ITB)
สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรง

ก่อนผ่าตัด

แพทย์จะทำการพิจารณาเลือกบริเวณที่จะฝังปั๊มจ่ายยาอัตโนมัติ เลือกขนาดปั๊มให้เหมาะสมกับขนาดร่างกายของคนไข้  คำนวณปริมาณยาที่ใช้ และกำหนดระยะการเติมยาของคุณ

ขั้นตอนการฝังอุปกรณ์

  1. การผ่าตัดฝังอุปกรณ์จะทำภายใต้การดมยาสลบ
  2. แพทย์จะทำการเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง เพื่อทำช่องขนาดพอดีสำหรับฝังปั๊ม
  3. จากนั้นจะเปิดแผลที่บริเวณหลังความยาว 2-3 นิ้ว เพื่อสอดปลายด้านหนึ่งของท่อนำยาเข้าไปยังช่องน้ำไขสันหลัง
  4. ปลายอีกด้านของท่อนำยาจะสอดผ่านใต้ชั้นผิวหนังเพื่อนำไปเชื่อมต่อกับตัวปั๊มจ่ายยา
  5. จากนั้นจึงทำการเย็บปิดปากแผล

สัปดาห์แรกของการพักฟื้น

โดยทั่วไปหลังจากที่ฝังอุปกรณ์แล้วจะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 6-8 สัปดาห์  ในช่วงแรกของการพักฟื้นคุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวและอาจเคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก คุณควรทำตามคำแนะนำของแพทย์และอย่าฝืนร่างกายจนเกินไป

หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ คุณสามารถลองทำกิจกรรมบางอย่างที่คุณชอบได้ เช่น ออกไปเดินเล่น ขี่จักรยาน ไปดูหนังหรือชมกีฬา ลองปรึกษาแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมที่คุณอยากทำ

การปรับปริมาณยา

จะมีการเติมยาบาโคลเฟนเข้าปั๊มจ่ายยาระหว่างที่คุณกำลังทำการฝังอุปกรณ์ การบำบัดจะเริ่มเมื่อยาไหลจากอุปกรณ์ที่ฝังผ่านทางท่อนำยาไปยังน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลัง

คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่า คุณรู้สึกอย่างไร (เช่น กล้ามเนื้อคลายมากเกินไปหรือคลายไม่มากพอ) เพื่อให้แพทย์ทำการปรับปริมาณการจ่ายยาให้ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน เพื่อให้สามารถระบุได้ว่า ยาหรือโปรแกรมไหนเหมาะสำหรับคุณมากที่สุด ขั้นตอนนี้ (เรียกว่าการไทเทรตขนาดยา) จะต้องใช้เวลา เนื่องจากการรักษาด้วย ITB ไม่ใช่การรักษาที่ใช้ยาขนาดเดียวที่จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกคนได้

หลังจากที่ได้รับการปรับยาแล้ว คุณจะเห็นผลได้ใน 6-8 ชั่วโมงและเห็นผลสูงสุดใน 1-2 วัน เมื่อยาบาโคลเฟนรักษาได้ผล แพทย์ก็จะค่อย ๆ ลดปริมาณยาที่คุณต้องรับประทานลงตาม 

การนัดหมายเติมยา

เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา  คุณควรมาเติมยาตามวันที่แพทย์นัดหมายอย่างเคร่งครัด

ในการเติมยา แพทย์จะทำการดูดยาที่เหลือในปั๊มผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก และเติมยาใหม่เข้าไป    โดยความถี่ในการเติมยานั้นขึ้นอยู่กับอัตราการใช้ยาที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่ควรนานเกิน 6 เดือน  เพื่อคงประสิทธิภาพของยา